ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย เห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม ่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็น
ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา
เหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย... นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ (Bilabial) ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น
ภาษาไทย แม่
ภาษาจีน ม๊ะ หรือ ม่า
ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์)
ภาษาอังกฤษ mom , mam
ภาษาโซ่ ม๋เปะ
ภาษามุสลิม มะ
ภาษาไทใต้คง เม
เป็นต้น
คำปรารถนาดีจากผู้เขียนบล็อก : วันแม่เป็นวันที่จะต้องระลึกถึงพระคุณของแม่ที่แม่มีให้ต่อเรา วันที่ 12 สิงหาคมซึ่งตรงกับวันแม่แห่งชาติ ลูกๆทุกคนควรจะเข้าไปกราบแม่ให้แม่ชื่นใจด้วยน่ะค่ะ ( สำหรับลูกๆทุกคนที่เห็นว่าวันเกิดของตนเป็นวันเกิดที่สนุกสนาน ลองย้อนกลับไปดูซิค่ะ กว่าเราจะเกิดออกมาได้แม่จะต้องเจ็บปวดมากขนาดไหนกว่าจะเบ่งเราออกมาได้ ฉะนั้น จงคิดว่า วันเกิดเราคล้ายวันตายของแม่ ลูกๆทุกคนควรจะไปกราบแม่กันดีกว่าจะมาเลี้ยงสังสรรค์กันน่ะค่ะ )
ผู้เขียนบล็อก : นางสาว เพ็ญแข หวังปรุงกลาง นักเรียนโรงเรียนขามสะแกแสง
คุณครูผู้สอนเขียนบล็อก : คุณครูเพียรผจง เนตระกูล
ที่มาของเว็ปไซต์ : http://www.mthai.com/scoop/mother_day/history.php
No comments:
Post a Comment