Wednesday, February 13, 2008

ตำนานช้างไทย


ช้างไทย…ในวันนี้ยังคงตัวโต เฉลียวฉลาด สง่างาม และความยิ่งใหญ่เช่นเดิม แต่ดูเหมือนว่า ช้างไทยจะถูกลืมเลือนและเห็นความสำคัญน้อยลงไปทุกที ๆ ช้างในโลกมีอยู่ 2 ตระกูลใหญ่ ๆ คือ ช้างเอเชีย และช้างแอฟริกา ช้างเอเชีย (Elephas Maximus) ช้างเอเชีย คือ ช้างที่อาศัยอยู่ตามป่าในประเทศไทย อินเดีย พม่า กัมพูชา ศรีลังกา และมาเลเซีย ช้างเอเชียมีความสูงในขณะมีความสมบูรณ์เต็มที่ วัดจากปลายขาหน้าถึงไหล่ เฉลี่ยประมาณ 3 เมตร หัวเป็นโหนก มองจากด้านหน้าจะเห็นเป็น 2 ลอน เฉลียวฉลาดสามารถนำมาฝึกให้ทำงาน หรือฝึกให้แสดงท่าทางต่าง ๆ ได้ ใบหูเป็นแผ่นกว้าง ขอบหูด้านบนอยู่ในระดับของหัว ปลายงวงจะมีงอยเดียว หลังโค้ง เห็นได้ชัด เท้าหน้าทีเล็บข้างละ 5 เล็บ เท้าหลังมีข้างละ 4 เล็บ ช้างเอเชียซึ่งรวมถึงช้างไทยด้วยนี้ ถ้าเป็นช้างตัวผู้ เรียกว่าช้างพลาย ซึ่งจะมีงา ส่วนช้างตัวเมีย ที่เรียกว่าช้างพังนั้น โดยปกติจะไม่มีงา หรืออาจมีงาสั้น ๆ เรียกว่า ขนาย ช้างพลายที่ไม่มีงาก็มีอยู่บ้าง เรียกว่า ช้างสีดอ

ช้างแอฟริกา (Loxodonta Africana) ช้างแอฟริกา คือ ช้างที่อาศัยในทวีปแอฟริกา มีความสูงโดยเฉลี่ย 3.5 เมตร ซึ่งสูงกว่าช้างเอเชียหัวของช้างแอฟริกาจะเล็กกว่าหัวของช้างเอเชียอย่างเห็นได้ชัด มีโหนกที่หัวเพียงลอนเดียว ลักษณะที่ แตกต่างจากช้างเอเชียอย่างชัดเจนอีกอย่างหนึ่ง คือ ใบหูที่ใหญ่กว่า ขอบหูด้านบนสูงกว่าระดับหัวช้าง เมื่อกางออกเต็มที่ จะเห็นว่าใบหูใหญ่มาก ปลายงวงมี 2 จะงอย เท้าหน้าทีเล็บข้างละ 5 เล็บ เท้าหลัง มีข้างละ 5 เล็บ เท้าหลังมีข้างละ 3 เล็บ ช้างเแอฟริกามีงาเหมือนกันทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่มีความฉลาดน้อยกว่าช้างเอเชียและดุร้าย จึงยังไม่เคยมีผู้นำช้างแอฟริกามาฝึกเพื่อใช้งาน หรือฝึกเพื่อการแสดงเลย นอกจากช้าง 2 ตระกูลที่กล่าวมาแล้ว ยังมีช้างแคระ (Pygmy Elephant) สูงราว 2 เมตร เป็นช้างแอฟริกาอยู่ตามลุ่มน้ำคองโก มีเหลืออยู่น้อยมาก เพราะชาวแอฟริกันมักล่าเอาเนื้อมาปรุงอาหาร ช้างแคระ ในประเทศไทยก็เคยมีอยู่ตามป่าชายทะเลสาบสงขลา เรียกว่า ช้างค่อม แต่ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว

นิสัยของช้าง ช้างเอเชียรวมทั้งช้างไทยเป็นสัตว์ที่ฉลาด นอกจากนี้ยังมีความสุภาพ สะอาด มีความจำดี รักเจ้าของ อดทนและจำกลิ่นที่เคยชินได้ สังเกตได้จากพฤติกรรมที่ช้างจะใช้เท้าลองเหยียบเพื่อหยั่งดูว่า พื้นดินบริเวณใดอ่อนทานน้ำหนักตัวไม่ได้ ช้างจะเลี่ยงไม่เหยียบพื้นดินบริเวณนั้น ช้างจะดุร้ายเฉพาะตอนที่ตกมันเท่านั้น ซึ่งจะจำใครไม่ได้แม้แต่คนเลี้ยง


อาหารของช้าง ช้างเป็นสัตว์ไม่กินเนื้อ อาหารส่วนใหญ่ได้แก่ต้นไม้ใบหญ้า ช้างกินอาหารคิดเป็นน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัมต่อวัน อาหารของช้างได้แก่
- หญ้า มีหญ้าหลายชนิดที่ช้างชอบ เช่น หญ้าคา อ้อ หญ้าแพรก หญ้าปล้อง หญ้าปากควาย
- ไม้ไผ่ เช่น หน่อไม้ และยอดอ่อนของไผ่ป่า ไม่รวก ไผ่ข้าวหลาม
- เถาวัลย์ เช่น บอดระเพ็ด ส้มป่อย และเถาวัลย์แดง
- ไม้ยืนต้น ช้างชอบกินทั้งเปลือก ใบ และผล เช่น กล้วย อ้อย ขนุน ไทร สัก มะพร้าว มะขาม มะขวิด
- พืชไร่ เช่น ข้าวโพด สับปะรด ฟัก แตงโม มะละกอ
- ดินโป่ง ช้างจะกินดินโป่งเป็นบางเวลา ดินโป่งประกอบด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น โปแตสเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม
ช้างป่าชอบกินผลไม้สุก

ข้อมูลที่ได้ได้มาจาก :

http://www.kanchanapisek.or.th/kp4/book244/elephant.html

ผู้จัดทำ :

เด็กหญิง เพ็ญแข หวังปรุงกลาง

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2

นักเรียนโรงเรียนขามสะแกแสง






















No comments: