Tuesday, March 4, 2008

ผ้าไหมไทย>>>>คุณค่าสู่สากล

การปฎิบัติรักษาผ้าไหมไทย
เนื่องจากผ้าไหมมีราคาแพง การตัดเย็บ การซักรีด และเก็บรักษา ก็ยุ่งยาก และยังต้องระมัดระวัง ดังนั้น เมื่อมีผ้าไหมแล้วจึงต้องรู้จักวิธีปฏิบัติรักษา และทนุถนอมให้มาก เพื่อจะได้ใช้สอยนาน ๆ







คุณสมบัติอันมีค่าคุณสมบัติอันมีค่าของผ้าไหมไทยที่มีชื่อขจรขจายไปสู่ทุกภูมิภาคของโลก (จากการมอง) มีสองลักษณะคือ
1.การมองในลักษณะภายนอก คือผ้าไหมไทยนั้น เมื่อมองแล้วจะมีความงามเป็นประกาย มีความตรึงใจ และทำให้หลงใหลในสีสันอันงดงาม และดูภูมิฐานเมื่อใครได้สวมใส่ผ้าไหมไทย จะแสดงถึงความมีรสนิยมสูง 2.การมองในลักษณะของการได้สวมใส่หรือสัมผัส เมื่อได้สวมใส่ผ้าไหมแล้วทำให้เกิดความสุขและความภูมิใจ คุณสมบัติที่เบาตัวของผ้าไหม ทำให้มีความรู้สึกสบาย
ผ้าไหมไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นราชินีของเส้นใยทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกปัจจุบัน ผ้าไหมหรือผลิตภัณฑ์จากไหมนั้นบอบบาง จึงต้องปฏิบัติรักษาอย่างพิถีพิถันอย่างน้อยทุกคนก็ทราบดีอยู่แล้วว่า คุณสมบัติต่าง ๆ ที่จะต้องปฏิบัติรักษา เคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวัง ความสุข ความเบาสบาย ความภูมิใจ จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าเราจะไม่ทำการรักษาคุณภาพอันดีเลิศของผลิตภัณฑ์ จากไหมทุกชนิดให้อยู่ในสภาพที่น่าหยิบ น่าเป็นเจ้าของและน่าสวมใส่








การปฎิบัติรักษาผ้าไหมไทย

เมื่อได้ทราบถึงคุณสมบัติต่าง ๆ แล้ว ผู้เขียนก็อยากจะอธิบายถึงการปฏิบัติรักษาผ้าไหมไทยดังต่อไปนี้คือ
1.การตัดเย็บ ขั้นแรกให้จุ่มผ้าไหมลงในน้ำร้อน เพื่อไล่สีที่หลงเหลือหรือสีที่ไม่สามารถจับติดในเนื้อผ้าไหมให้ออกไป นอกจากนี้แล้วยังทำให้มีความงามเป็นประกายดีขึ้น หลังจากนั้นรีดผ้าไหมทางด้านหลังด้วยไฟอ่อน ๆ โดยพ่นน้ำเพียงเล็กน้อยก่อนรีด พึงระลึกเสมอว่า ให้พ่นฉีดน้ำบาง ๆ เท่านั้น อย่าถึงกับให้เปียกเพราะ ถ้าเปียกเวลารีดแล้วอาจทำให้ผ้าเกิดเป็นจุดที่ไม่สวยงาม หลังจากนั้นแล้วจึงจัดเส้นลายผ้าให้ตรง แล้วจึงทำการตัดและเย็บด้วยเข็มและด้ายที่เหมาะสมของคุณภาพผ้า
2.การรีด การรีดโดยทั่วไปหรือการรีดลบรอยย่นหลังจากตัดเย็บแล้วหรือหลังจากการสวมใส่อุณหภูมิที่เหมาะสมในการรีดผ้าไหมโดยทั่วไป ควรรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระหว่าง 120 - 140 องศาเซลเซียส และการรีด ควรมีผ้าฝ้ายหนา ๆ ทับบนผ้าไหม เพื่อป้องกันการสัมผัสผ้าไหมกับเตารีดโดยตรง ถ้าสัมผัสโดยตรงจะทำให้คุณสมบัติต่าง ๆ ของผ้าไหมสูญเสียไปได้
3.การซัก ซักแห้งนับว่าเหมาะสมที่สุด แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะซักแบบธรรมดาควรใช้สารที่มีคุณภาพเป็นกลางในน้ำอุ่นให้ทั่ว อย่าให้ผ้าไหมกองหรือพับติดกัน หลังจากซักแล้วให้บิดเบา ๆ นำไปผึ่งในที่ร่ม ห้ามผึ่งแดดโดยเด็ดขาด
4.การระมัดระวังและเก็บรักษา หลังจากสวมใส่ทุกครั้งให้ตรวจสอบสิ่งสกปรกที่ติดอยู่อย่างระมัดระวัง ผึ่งให้เสื้อผ้าคงรูปเดิมในที่ ๆ มีการถ่ายเทอากาศที่ดีปราศจากฝุ่นละออง ถ้าเสียรูปร่างหรือรอยยับให้ใช้เตารีด รีดให้เรียบ การเตรียมการเก็บรักษา ก่อนเก็บเสื้อผ้าต้องอยู่ในสภาพเรียบไม่มีรอยยับแห้งและสะอาดอยู่เสมอ




กว่าจะได้มาเป็นผ้าไหมไทย

ท่านต้องเห็นใจเกษตรกรด้วยว่ากระดูกสันหลังของชาตินั้น กว่าจะปลูกหม่อนเพื่อใช้เลี้ยงไหมได้ต้องใช้เวลาถึง 1 ปี เมื่อมีใบหม่อนแล้วก็ต้องทำการเลี้ยงไหมอีกประมาณ 20 - 25 วัน จึงจะได้รังไหม ในระยะเวลาดังกล่าวก็จะต้องเก็บใบหม่อนมาเลี้ยงไหม โดยให้ใบหม่อนวันละ 3 - 5 ครั้ง ต้องคอยดูแลรักษาความสะอาด ป้องกันโรคแมลงไม่ให้กล้ำกรายตัวไหม เมื่อครบกำหนดแล้วไหมก็ทำรัง โดยพ่นเส้นใยไหมให้เสร็จแล้วก็ต้องมานั่งดึงเอาเส้นใย (สาวไหม) ให้เป็นเส้นไหมตามที่ต้องการ เสร็จแล้วก็นำไปฟอก ไปมัดลาย ไปย้อม ไปขึ้นกี่ทอผ้า
ดังนั้นขบวนการผลิตผ้าไหม หรือผลิตภัณฑ์จากไหมนั้นต้องใช้เวลา แรงงาน และความตั้งใจ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและสวยงาม
ถ้าท่านใช้ผ้าไหมแล้วมีการปฏิบัติรักษาที่ดี ก็จะทำให้ผ้าไหมมีอายุการใช้งานได้นาน เป็นที่นิยมกันแพร่หลายต่อไป เกษตรกรก็คงจะยึดเป็นอาชีพที่มั่นคง ตลอดจนชื่อเสียงของผ้าไหมไทยนั้นก็จะยืนยง คู่ชาติสืบไป


สามารถหาข้อมูลผ้าไหมไทยเพิ่มเติมได้ที่ http://www.doae.go.th/library/html/detail/mait/index.html
หรือสามารถเข้ามาติชมผู้เขียนบล็อกได้ที่
penkhae5@thaimail.com

ผู้เขียนบล็อก
เด็กหญิง เพ็ญแข หวังปรุงกลาง นักเรียนโรงเรียนขามสะแกแสง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2





















No comments: