Friday, March 28, 2008

การดูแลเส้นผม....


ผมสลวยสวยขำ ดำเป็นเงา เป็นท่อนเนื้อเพลงสมัยเก่า ที่บรรยายความงาม ของเส้นผมของผู้หญิง เป็นลักษณะของเส้นผม ที่ท่านหญิงทุกคนปรารถนา ที่ทำให้เส้นผมนั้น ดำเป็นเงา ตั้งแต่วัยรุ่น จนถึงวัยชรา แต่ทุกอย่างล้วนอนิจจัง เส้นผมก็เดียวกัน ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ตามสภาวะแวดล้อม ธรรมชาติ และทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะ การย้อม การดัด การเข้าใจ ลักษณะทางกายภาพ และส่วนประกอบของเส้นผม จะทำให้คุณได้เข้าใจได้ดีขึ้น

เส้นผม ประกอบด้วยเซลล์ 3 ชั้น
ชั้นนอก เรียก คิวติเกิล (cuticle)

ชั้นกลาง เรียก คอรเทก (cortex)
ชั้นใน เรียก เม็ดดัลลา (medulla)

ชั้นนอก
มีประมาณ 6-10 ชั้น ตรงโคนหนากว่าปลายเส้นผม เซลล์จะเรียงต่อ ทับกัน เหมือนกับ การสร้างหลังคาบ้าน ปลายที่เป็นอิสระ จะชี้ไปทางปลายเส้นผม แต่ละเซลล์ ประกอบด้วยชั้นต่างๆอีก 3 ชั้น ผมจะสวยหรือไม่สวย อยู่ที่ชั้นนี้
ชั้นกลาง
เป็นส่วนประกอบ ที่ทำให้เส้นผมแข็งแรง มีเส้นใยเล็กๆ ทอดยาว ตลอดความยาวเส้นผม พูดง่าย ๆ เหมือน ก้านธูปหลายก้าน ที่มัดไว้เป็นห่อ ในแต่ละ 1 เส้นใย ประกอบด้วยใยเล็กๆ อยู่รวมกัน เป็นเส้นใยใหญ่ 1 เส้น เส้นใยใหญ่ นี้อยู่ในเซลล์ ที่ชื่อว่า พาราคอร์เทก (paracortex) อีกทีหนึ่ง คนที่มีเส้นผมหยักโศก เซลล์จะเป็นพาราคอร์เทก ส่วนผมม้วนหยิก เช่น นิโกร เป็นเซลล์ที่เรียกว่า พาราคอร์เทก ผสมออโทคอร์เทก (เซลล์มีอยู่กันแน่นน้อยกว่า อีกแบบหนึ่ง)
ชั้นใน
ประกอบด้วยเซลล์ ที่มีโพรงอากาศอยู่ อาจมีอยู่ติดต่อกันทั้งเส้น หรืออยู่เป็นระยะ ๆ หรือบางทีไม่มี
ส้นผม ประกอบด้วย น้ำ โปรตีน 65-95% และกรดอมิโน อาจมีไขมัน เม็ดสี ธาตุโลหะปนเล็กน้อย กรดอมิโน เป็น ซีสเตอีน โปรลิน ลิวซิน ฯลฯ ถ้าเอาเส้นผมแช่น้ำ น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น 12-18% การดูดซึมเร็วมาก ใช้เวลา 4 นาที ถ้าอากาศมีความชื้นสูง การดูดซึมก็สูงขึ้น ไขมันของเส้นผมเพิ่มขึ้น เมื่อวัยหนุ่มสาว และลดลง โดยเฉพาะผู้หญิง ที่มีอายุมากขึ้น ส่วนของผู้ชาย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเท่าใดนัก ดังนั้นผู้หญิงวัยกลางคน ผมจะแห้งกรอบ ผิดสังเกต แร่ธาตุในเส้นผม มีปนกันไม่ถึง 1% มีโลหะ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม สังกะสี โซเดียม โปตัสเซียม ฯลฯ
การหวี การแปรงผม การฟอกสีผม การย้อมผม หรืออาจเกิดจาก การเสียดสี การเปียกน้ำ การโดนรังสี ชั้นที่มีการเปลี่ยนแปลง คือ ชั้นนอกและชั้นกลาง ปลายของเซลล์ชั้นนอก จะยกขึ้นและแตกออก และหลุดออก ทำให้เส้นผมไม่มีเซลล์ชั้นนอก อาจทำให้ปลายเส้นผมแตก หรือเส้นผมตรงกลาง เป็นร่องลึก ความยาว หรือความขวาง หรือผมหักมองดูเป็นปุ๋มสีขาว ถ้าเกิดจากการย้อม หรือดัดถาวร ทำให้เส้นผมบิด การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ มักเกิดที่ปลายเส้นผม


เส้นผมหัก
เป็นอาการรุนแรงของ ความผิดปกติของเส้นผม อาจเป็นเพราะกรรมพันธ์ หรือใช้เครื่องสำอางมากเกินไป ทำให้เส้นผมเปราะบาง หักและไม่ยาว ในบางราย เกิดจากการ ใช้ยาสระผม การแปรงผม และตากแสงแดดมากไป ในบางคนเกิดจาก น้ำยายืดผม ความเปลี่ยนแปลงเริ่มต้น จากเซลล์ชั้นนอก มีโพรงอากาศในเซลล์ เมื่อเส้นผมหัก เริ่มแรกอาจเรียก เส้นผมร้าว เมื่อเส้นผมหักหลุดไปแล้ว จึงเหลือเป็นเส้นผมแตก บางรายอาจแตกตามยาวตรงกลาง แต่ปลายเส้นผมดีก็มี บางรายอาจแตกตรงชั้นนอก ชั้นเดียวก็ได้ หรือหักชนิด โดยที่ไม่มีการแตกปลาย
สีเส้นผม
อาจเปลี่ยนสีได้ เมื่อสัมผัสกับแสงแดดนานๆ จากสีดำกลายเป็นสีน้ำตาลแดง แสงแดดยังทำให้ ผมแห้งกรอบ อ่อน ผิวขรุขระ สีจางไร้เงา บางทีแข็งแต่เปราะ มีการทำลายผิวชั้นนอก ของเส้นผมก่อนที่จะ เข้าทำลายชั้นกลาง อนุมูลอิสระ ที่เกิดจากแสงแดด จะถูกดูดซับโดย กรดอมิโน เช่น ซีสตีน ไทโรซิน เฟนนิลอลานิน และทริปโตแฟน ทำให้ตัวเชื่อมไดซัลไฟด์เสียหาย เหมือนกับน้ำยาดัดผม ถ้าปฎิกิริยารุนแรง ความแข็งแกร่งของเส้นผม จะลดลง ดังนั้น ในครีมนวดผม หรือเจลแต่งผมบางชนิด ผสมตัวยากันแดด เพื่อช่วยป้องกันอันตราย จากแสงแดด ดังนั้นหลังจาก การฟอกสี และการดัดผม ควรที่จะป้องกันอันตราย จากแสงแดด เพราะอาจทำให้เส้นผมหักได้ ทั้งนี้เกิดจาก บางส่วนของเซลล์ชั้นนอก ถูกทำลายไปก่อนแล้ว จากยาสระผม
สภาวะของเส้นผมที่พบประจำไข่เหาเทียม
เป็นปรากฎการณ์ อย่างหนึ่งที่เป็นเยื่อหุ้มขาว ๆ อยู่รอบเส้นผม มองดูไกลๆ นึกว่าเป็นไข่เหา ใช้แชมพูสระผมแก้รังแค ก็ไม่หลุด เป็นเพราะเยื่อหุ้มนี้ เกิดจากเยื่อหุ้มของรากผม บางที อาจเกิดจากการใช้สเปรย์ หรือการทำทรงผมที่ใช้แรงดึง
เส้นผมกลวง
คือมีฟองอากาศ หรือช่องว่างในเส้นผม ซึ่งแตกหักง่าย มักเกิดจาก มีการทำลายเส้นผม มาเป็นเวลานาน จากการเป่าร้อนเกินไป การใช้โรลล์ม้วนผมไฟฟ้า น้ำคลอรีนในสระว่ายน้ำ การทำให้สีผมจาง การแก้ไข โดยการใช้ระบบ การดูแลเส้นผม (hair care) ที่อ่อนนุ่มละไม จึงจะสามารถป้องกัน การเกิดเหล่านี้ได้

การผสมแชมพู
ใส่สารต่างๆ อยู่ในเนื้อเดียวกัน ใส่ความเข้มข้นเท่าใด จึงจะพอดี ไม่ให้เส้นผมแห้งเกินไป หรือถ้าใช้กับผมแห้ง ก็เพิ่มเงาในตัว นอกจากให้ผมสวยแล้ว ต้องทำความสะอาดดีด้วย แล้วเติมสารบำรุงเส้นผม เรียบร้อยในตัว บางทีใส่สารดูแลเส้นผมเพิ่ม เพิ่มความนุ่มนวลของเส้นผม ตัวควบคุม ความเป็นกรดเป็นด่าง ยากันบูด น้ำหอม สี ฯลฯ การใส่สารบำรุงเส้นผม เพื่อให้ผมนุ่ม เป็นมัน ลดการกระเซิงและหวีง่าย โดยเฉพาะผมแห้ง และผมที่ถูกทำลาย อาจใส่สาร เช่น ลาโนลิน น้ำมันพืช ขี้ผึ้งต่างๆ ไขมัน แอลกอฮอล์ เลซิติน กรดไขมัน โปรตีน เช่น คอลลาเจน เคราติน สารสกัดจากข้าว และถั่วเหลือง ซิลิโคน ไวตามิน สารกันแดด แพนทีนอล ที่สำคัญ คือสารประจุบวก และซิลิโคน ซึ่งเป็นการบุกเบิกก้าวใหม่ ของสารดูแลเส้นผม อย่างที่กล่าวแล้วว่า สารโพลีเมอร์ประจุบวก ทำให้ผมนิ่ม และเรียบ ลดการเสียดสี เมื่อหวีผม และลดประจุไฟฟ้าสถิตย์ ใช้ร่วมกับแชมพูประจุลบไม่ได้ สารโพลิเมอร์ประจุบวกแตกต่าง จากสารเกิดฟองประจุบวก สามารถซึมเข้าไปในเส้นผม เคลือบผิวเส้นผมให้เรียบ เมื่อสระล้างแล้ว ทำให้เส้นผมสวยและหวีง่าย และยังป้องกันอันตราย จากสิ่งภายนอก สารพวกนี้ได้แก่ กลุ่มเซลลูโลส แป้ง ยาง ไชตีน ซิลิโคน ฯลฯ พวกโพลิเมอร์ อาจมีทั้งประจุลบ ไม่มีประจุ หรือมีทั่วประจุบวกลบ โปรตีนจากข้าวโอ๊ต ช่วยทำให้ผมเสียกลับสู่สภาพเดิม
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.thaicosderm.org/public-info/hair.htm
หรือสามารถส่งคำติชมมาได้ที่
penkhae5@thaimail.com

ผู้เขียนบล็อก
ด.ญ. เพ็ญแข หวังปรุงกลาง นักเรียนโรงเรียนขามสะแกแสง
คุณครูผู้ฝึกการเขียนบล็อก
คุณครู เพียรผจง เนตระกูล


















1 comment:

FanTazPan said...

เรามีเวปนึงแหละ สามารถให้คำปรึกษาเรื่องการดูแลเส้นผมได้นะ ลองเข้าเวปนี้ดู www.elseveexpert.com มีการ update trend ผมด้วยน้า แถมเค้ายังมีกิจกรรม online ที่แจกของรางวัลกันด้วย ลองเข้าไปดูนะชอบมากเลย